Advance Laboratory test

1. Urine Organic Profile

URINE ORGANIC ACID

   การประเมินปัญหาสุขภาพจากกรดอินทรีย์ที่ร่างกายผลิตขึ้นจากการย่อยสลายอาหารที่เรารับประทานเข้าไป (Metabolism)

กรดอินทรีย์ (ORGANIC ACID) คืออะไร

   กรดอินทรีย์ คือ สารตั้งต้นของโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และสารอื่น ๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายรวมทั้งสารคัดหลั่ง เอนไซม์ และเมตาบอไลต์ที่เกิดจากปฏิกิริยานั้น ๆ

การตรวจหาปริมาณกรดอินทรีย์ (organic acids)

   เป็นการตรวจการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายว่าเป็นปกติหรือไม่ การได้รับสารอาหารพอเพียงและนำไปใช้ประโยชน์เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีได้เพียงใด โดยกรดอินทรีย์ในปัสสาวะจะเป็นตัวชี้วัด (marker) ที่สะท้อนให้เป็นความสมบูรณ์ในระบบต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเซลล์จนถึงการทำงานร่วมกันของอวัยวะ เช่น

  • กระบวนการสร้างพลังงานของเซลล์ (Cell Energy Production) โดยการแปรสภาพกรดไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน
  • การทำงานของระบบประสาท (Nervous system) โดยตรวจหาปริมาณของสารสื่อประสาท และสารพิษของระบบประสาท
  • ประสิทธิภาพของการล้างพิษ (detoxification) ตามขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งภายในเซลล์ทั่วไป และภายในตับที่เป็นแหล่งฟอกพิษของร่างกาย
  • ตรวจหาความไม่สมดุล (Dysbiosis) ของพวกจุลินทรีย์ (bacteria yeast และเชื้อรา) ในลำไส้ เพื่อความผิดปกติที่อาจเป็นสาเหตุของอาการป่วย เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องเฟ้อ ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง และอาจจะเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ (allergy) รวมทั้งโรคเรื้อรังในกลุ่มโรคภูมิต้านทานเป็นพิษ (autoimmune disease) เช่น SLE โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน โรคพากินสัน โรคสมองเสื่อม เป็นต้น

   ดังนั้นการตรวจ Organic Profile ไม่ใช่การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค แต่เป็นการตรวจหาความไม่สมดุลในระบบต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลร่วมในการวินิจฉัยโรค การตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถแก้ไขและปรับปรุงทั้งด้านอาหารการกิน หรือ Lifestyle การดำรงชีวิตที่เหมาะสมขึ้นเพื่อให้มีชีวิตที่มีคุณภาพ และยืนยาว

การตรวจวิเคราะห์ Organic Profile ในปัสสาวะ

สามารถให้ข้อมูลการวินิจฉัยและการรักษาอาการผิดปกติมากมาย เช่น

  • อาการวิตกกังวล (Anxiety)
  • ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับสมาธิ และความจำ (Attention and Memory disorder)
  • อาการของโรคภูมิต้านทานเป็นพิษต่าง ๆ (Autoimmune Diseases)
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ (Bloating and Gas)
  • ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ (Blood Sugar Dysregulation)
  • ท้องผูก (Constipation)
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression)
  • ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis)
  • อาการทาง หู คอ จมูก (Ear Nose Throat symptoms)
  • อาการอ่อนเพลีย (Fatigue)
  • อาการปวดหัวเรื้อรัง (Headache)
  • ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
  • โรคตับ (Liver Diseases)
  • อารมณ์แปรปรวน (Mood Changes)
  • ปวดตามกล้ามเนื้อ และข้อต่าง ๆ (Muscle and Joint pain)
  • อาการคลื่นไส้ (Nausea)
  • ภาวะกรดไหลย้อน (Reflux)
  • การนอนหลับไม่ปกติ (Sleep Abnormality)

2. Food intolerance test

ภูมิแพ้อาหารแฝง FOOD INTOLERANCE คืออะไร

หนึ่งในโรคที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักหรือคุ้นชินกันดีนักกับ โรคภูมิแพ้อาหารแฝง เกินครึ่งของประชากรโลกป่วยเป็นโรคภูมิแพ้อาหารแฝงและมักไม่รู้ตัวว่ามีภาวะนี้อยู่เนื่องจากอาการแพ้มักเกิดได้หลากหลายอาการไม่จำเพาะเจาะจงและไม่ได้เกิดโดยทันที แต่ส่วนใหญ่มีอาการเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการนั้นๆ เช่น คัดจมูก ไอ จาม ท้องเสีย ปวดหัว อาการบวมน้ำ ลดน้ำหนักไม่ลง สิวเรื้อรัง หรือการอักเสบของชั้นใต้ผิวหนังในบริเวณต่างๆ

กลไกของการแพ้อาหารแบบแฝง

  • เริ่มจากเมื่อเราบริโภคอาหารที่แพ้เข้าไป เม็ดเลือดขาว (White blood cell) ได้สร้าง Antibody ที่จำเพาะต่ออาหารชนิดที่เราแพ้นั้น ๆ ในทางเดินอาหารของเรา สำหรับอาหารที่ไม่ได้แพ้ก็จะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเพื่อที่จะไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านตามกระแสเลือดตามปกติ แต่อาหารที่แพ้จะมี Antibody จับกับอาหารที่แพ้ และเกิดเป็นอนุภาคที่ก่อให้เกิดการอักเสบ และอนุภาคเหล่านี้เองจะเดินทางไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แล้วก่อให้เกิดการอักเสบที่ร่างกายตามจุดต่าง ๆ ซึ่งลักษณะอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และชนิดของอาหารที่แพ้ จะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล โดยจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่แพ้ทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายเราเองหรือไปรบกวนระบบภูมิต้านทานทั้งร่างกายจนแปรปรวน เนื่องจากร่างกายเข้าใจคลาดเคลื่อนคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้ามา เมื่อเราไม่ทราบยังคงรับประทานต่อ ร่างกายก็ยิ่งต่อต้าน ยิ่งกระตุ้นการสร้าง Antibody มากจนกำจัดไม่หมด ร่างกายก็จะโดน Antibody ทำลาย นำไปสู่เกิดโรคเรื้อรังหรือโรคร้ายแรง เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน โรคหัวใจ โรคอ้วน มะเร็ง

ภูมิแพ้แฝงเกิดขึ้นได้อย่างไร

  • เกิดจากกรรมพันธุ์ จากการที่ร่างกายมีการสร้างระบบภูมิคุ้มกันสูงต่ออาหารบางชนิด
  • เกิดจากการที่ร่างกายมีระบทางเดินอาหารผิดปกติ เช่น ระบบภูมิคุ้มกันทางเดินอาหารไม่แข็งแรง ระบบย่อยอาหารไม่มีประสิทธิภาพ ระบบการดูดซึมอาหารผิดปกติ
  • ภาวะเสียสมดุลของจุลชีพในลำไส้ โดยปกติลำไส้ของเรามีจุลชีพอยู่ 3 ประเภท คือ แบคทีเรียที่มีประโยชน์ แบคทีเรียก่อเกิดโรค และยีสต์ ถ้ามีการลดปริมาณของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ เช่น ในคนที่ทานยาฆ่าเชื้อเป็นประจำ ทำให้แบคทีเรียที่ดีตายและลดปริมาณลง แต่ยีสต์กลับเพิ่มปริมาณมากขึ้นในลำไส้ ทำให้เยื่อบุผนังลำไส้รั่ว โมเลกุลของสารอาหารที่เราแพ้จะหลุดรอดเยื่อบุลำไส้เข้าไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาว โดยมีการสร้าง Antibody และทำปฏิกิรยากับอาหารที่เราทานเข้าไป ร่างกายจะจดจำว่าอาหารชนิดที่ทานเป็นตัวกระตุ้น เมื่อใดที่รับประทานอาหารชนิดนั้นอีก เม็ดเลือดขาวก็จะสร้าง Antibody ทำปฏิกิริยาส่งผลให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุลำไส้มากขึ้น และนำไปสู่ปัญหาลำไส้แปรปรวน ลำไส้รั่วซึม (Leaky Gut Syndrome)

หากเรายังทานอาหารเหล่านั้นอยู่ ร่างกายจะถูกกระตุ้นอยู่เรื่อยๆส่งผลกระทบต่อระบบภูมิต้านทาน เกิดกระบวนการอักเสบ ขึ้นอยู่กับว่าการอักเสบจะเกิดกับอวัยวะใด เช่น

- ถ้าเกิดการอักเสบที่เส้นเลือด จะทำให้เส้นเลือดบวม ความดันโลหิตสูง

- ถ้าเกิดการอักเสบที่สมอง อาจให้นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน

- ถ้าเกิดการอักเสบที่บริเวณข้อ จะทำให้ปวดตามข้อ ปวดกระดูก เป็นรูมาตอยด์ SLE

- ถ้าเกิดการอักเสบที่ผิวหนัง จะทำให้เกิดผดผื่นคัน สิว แผลในปากเรื้อรัง

จะเห็นได้ว่า โรคเรื้อรังต่างๆที่เกิดขึ้น มักมีโรคลำไส้รั่วซึมเป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance Test) จึงมีความจำเป็นสำหรับการตรวจวินิจฉัยสำหรับกลุ่มโรคเรื้อรังและอาการเจ็บป่วยอื่นๆที่ไม่ทราบสาเหตุ ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่มีปัญหาภูมิแพ้เท่านั้น

การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance test) สามารถตรวจการแพ้อาหารได้ 222 ชนิด ครอบคลุมอาหารที่รับประทานเป็นประจำ ใช้วิธีการ

เจาะเลือด โดยไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร ผลการตรวจจะแสดงระดับสีของการแพ้ ออกเป็น 3 ระดับ คือ

1. สีแดง : แพ้ระดับรุนแรง ควรงดรับประทานอย่างน้อย 3 6 เดือน

2.สีเหลือง : แพ้ระดับปานกลาง ควรลดปริมาณหรือรับประทานไม่เกิน 1 ครั้ง/สัปดาห์

3.สีเขียว : ไม่มีอาการแพ้ สามารถรับประทานได้ตามปกติ

3. Micronutrient Profile Test

Micronutrient Profile คือ วิตามินแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ ไม่สามารถผลิตได้เอง แม้ต้องการในปริมาณที่น้อยแต่ขาดไม่ได้เพราะจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้นการตรวจวัดระดับ Micronutrient ในร่างกายจึงมีความสำคัญ ใช้ในการปรับสมดุลของสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระไม่ให้ร่างกายได้รับมากเกินไปจนเกิดอันตราย หรือได้รับน้อยไปจนขาดแล้วส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ระบบต่างๆทำงานบกพร่อง อีกทั้งการได้รับ Micronutrient ที่เพียงพอและเหมาะสมจะช่วยป้องกันโรค ลดความเสื่อมของร่างกาย ชะลอวัย และทำให้มีสุขภาพที่ดีจากภายในสู่ภายนอก

ใครบ้างที่ควรตรวจ Micronutrient Profile

  • ผู้ที่พบความผิดปกติของร่างกายที่อาจเชื่อมโยงถึงสาเหตุของการขาดวิตามิน เช่น อาการเหนื่อยล้า อารมณ์ผิดปกติ ควบคุมน้ำหนักได้ไม่ดี
  • ผู้ที่มีความเครียดสูง อยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
  • ระบบการย่อยการดูดซึมสารอาหารไม่ดี มีปัญหาลำไส้
  • ผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด การได้รับการรักษาด้วยยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือผู้ที่ได้รับการผ่าตัด
  • ผู้ที่เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน หลอดเลือดสมองตีบ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไมเกรน

4. Heavy Metal Test

ในแต่ละวันเรามีความเสี่ยงต่อการรับเอาสารโลหะหนัก และสารพิษเข้ามาในร่างกายอยู่ตลอดเวลา ทั้งการทำงานที่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับสารพิษ สารเคมีในอุตสาหกรรม หรือการปนเปื้อนจากอาหาร น้ำ อากาศ เครื่องสำอาง หรือแม้แต่วัสดุอุดฟันบางชนิด เป็นสิ่งที่ป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ยาก โลหะหนักเหล่านี้ เมื่ออยู่ในระดับน้อยอาจไม่แสดงอาการ แต่เมื่อมีการสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายกับร่างกาย ภาวะพิษทำให้เนื้อเยื่อเกิดความเสียหายรุนแรง และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน อัลไซเมอร์ และ มะเร็งต่าง ๆ

อันตรายของสารพิษโลหะหนักตกค้างสะสมในร่างกาย

สัญญาณเตือน สารพิษโลหะหนักสะสม ถึงเวลาควรตรวจโลหะหนัก

  • ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
  • เวียนศรีษะ ปวดศรีษะบ่อย
  • นอนไม่หลับ สมาธิไม่ดี หงุดหงิดง่าย โรคซึมเศร้า
  • ผื่นภูมิแพ้ ลมพิษ ผิวหนังเป็นผื่นคันเรื้อรัง
  • หอบหืด หายใจติดขัด
  • ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดท้อง อาเจียน
  • เบื่ออาหาร มีแผลร้อนในในปากเป็นประจำ
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เหน็บช้าตามปลายมือปลายเท้า เป็นตะคริวบ่อยๆ

ผู้ที่เสี่ยงต่อสารพิษโลหะหนักตกค้างในร่างกาย

  • ทำงานอยู่ในแหล่งสัมผัสสาร เช่น โรงงานแบตเตอรี่ ช่างทอง ช่างเชื่อม บ้านอยู่ในเขตที่มีการปนเปื้อน
  • อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เช่น ใกล้แหล่งโรงงานอุตสาหกรรม
  • ผู้ที่มีกิจกรรมกลางแจ้งเป็นประจำ
  • ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นประจำ
  • ผู้ที่ชอบทำสีผม ทำเล็บ
  • ผู้ที่รับประทานผักผลไม้ที่มีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงเป็นประจำ
  • ผู้ที่รับประทานอาหารทะเลที่มาจากแหล่งน้ำปนเปื้อนเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีวัสดุอุดฟันที่ใช้สารอมัลกัม

การตรวจสารพิษโลหะหนัก ครอบคลุม 5 ชนิด ดังนี้

  • Lead ตรวจระดับ สารตะกั่วในร่างกาย
  • Mercury ตรวจระดับ สารปรอทในร่างกาย
  • Cadmium ตรวจระดับ แคดเมียมในร่างกาย
  • Aluminium ตรวจระดับ อลูมิเนียมในร่างกาย
  • Arsenic ตรวจระดับสารหนูในร่างกาย
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy