Heavy Metal Test

ในแต่ละวันเรามีความเสี่ยงต่อการรับเอาสารโลหะหนัก และสารพิษเข้ามาในร่างกายอยู่ตลอดเวลา ทั้งการทำงานที่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับสารพิษ สารเคมีในอุตสาหกรรม หรือการปนเปื้อนจากอาหาร น้ำ อากาศ เครื่องสำอาง หรือแม้แต่วัสดุอุดฟันบางชนิด เป็นสิ่งที่ป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ยาก โลหะหนักเหล่านี้ เมื่ออยู่ในระดับน้อยอาจไม่แสดงอาการ แต่เมื่อมีการสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายกับร่างกาย ภาวะพิษทำให้เนื้อเยื่อเกิดความเสียหายรุนแรง และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน อัลไซเมอร์ และ มะเร็งต่าง ๆ

อันตรายของสารพิษโลหะหนักตกค้างสะสมในร่างกาย

สัญญาณเตือน สารพิษโลหะหนักสะสม ถึงเวลาควรตรวจโลหะหนัก

  • ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
  • เวียนศรีษะ ปวดศรีษะบ่อย
  • นอนไม่หลับ สมาธิไม่ดี หงุดหงิดง่าย โรคซึมเศร้า
  • ผื่นภูมิแพ้ ลมพิษ ผิวหนังเป็นผื่นคันเรื้อรัง
  • หอบหืด หายใจติดขัด
  • ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดท้อง อาเจียน
  • เบื่ออาหาร มีแผลร้อนในในปากเป็นประจำ
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เหน็บช้าตามปลายมือปลายเท้า เป็นตะคริวบ่อยๆ

ผู้ที่เสี่ยงต่อสารพิษโลหะหนักตกค้างในร่างกาย

  • ทำงานอยู่ในแหล่งสัมผัสสาร เช่น โรงงานแบตเตอรี่ ช่างทอง ช่างเชื่อม บ้านอยู่ในเขตที่มีการปนเปื้อน
  • อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เช่น ใกล้แหล่งโรงงานอุตสาหกรรม
  • ผู้ที่มีกิจกรรมกลางแจ้งเป็นประจำ
  • ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นประจำ
  • ผู้ที่ชอบทำสีผม ทำเล็บ
  • ผู้ที่รับประทานผักผลไม้ที่มีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงเป็นประจำ
  • ผู้ที่รับประทานอาหารทะเลที่มาจากแหล่งน้ำปนเปื้อนเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีวัสดุอุดฟันที่ใช้สารอมัลกัม

การตรวจสารพิษโลหะหนัก ครอบคลุม 5 ชนิด ดังนี้

  • Lead ตรวจระดับ สารตะกั่วในร่างกาย
  • Mercury ตรวจระดับ สารปรอทในร่างกาย
  • Cadmium ตรวจระดับ แคดเมียมในร่างกาย
  • Aluminium ตรวจระดับ อลูมิเนียมในร่างกาย
  • Arsenic ตรวจระดับสารหนูในร่างกาย
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy